Goodlooks.in.TH

พูดให้คนอื่นดูแย่ ตอแหลให้ตัวเองดูดี

แนะนำยาแก้อักเสบ ลดบวม พร้อมข้อควรระวังในการใช้

แนะนำยาแก้อักเสบ ลดบวม พร้อมข้อควรระวังในการใช้

แนะนำยาแก้อักเสบ ลดบวม พร้อมข้อควรระวังในการใช้

ยาแก้อักเสบ ลดบวม เป็นยาที่ออกฤทธิ์ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งปัจจุบันมีผู้นิยมใช้ยากลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก เพราะเป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้เร็ว ทำให้อาการปวดบวมหายได้เร็ว ทั้งยังสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป จึงทำให้มีผู้ที่มีอาการอักเสบ ปวดบวม ไม่ว่าจะเป็น การปวดบวมตามร่างกาย ตามข้อต่างๆ ปวดตามเส้น เคล็ดขัดยอก หรือแม้แต่เมื่อมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ เจ็บคอ ก็สามารถหาซื้อมารับประทานเพื่อบรรเทาอาการได้อย่างไม่ยากเช่นกัน

กลุ่มยาแก้อักเสบ ลดบวม ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

ปัจจุบันเมื่อมีอาการอักเสบปวดบวมบริเวณต่างๆ ตามร่างกาย หลายท่านมักจะนึกถึงยาแก้อักเสบ ลดบวมขึ้นมาทันที เพราะเป็นยาที่ช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการต่างๆ เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะมีตัวยาที่นิยมใช้อะไรบ้าง เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกันดังต่อไปนี้

1.ยาแอสไพริน (Aspirin)

ยาแอสไพริน มีสรรพคุณเป็นยาแก้อักเสบ ลดบวมที่ช่วยบรรเทาอาการปวด ลดไข้ และยังสามารถรักษาโรคหลอดเลือดในสมองได้อีกด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วยาชนิดนี้จะมีการใช้ลดลง และอยู่ในการควบคุมของแพทย์เท่านั้น เพราะเป็นยาที่มีความอันตราย และส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ถ้าหากมีการรับประทานเป็นเวลานาน

ขนาดและวิธีการใช้ยาแก้อักเสบ ลดบวม

  • แก้อักเสบ ลดบวม ลดไข้ ควรรับประทาน 325 – 650 หลังอาหารทันที ทุก 4-6 ชั่วโมง หรือรับประทานยาเมื่อมีอาการ
  • ใช้สำหรับรักษาอาการโรคหลอดเลือดในสมอง หรือโรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาชนิดนี้

2.ยาไดโคลฟีแนค (Diclofenac)

เป็นตัวยาที่มีสรรพคุณ ลดการอักเสบปวดบวม ช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดประจำเดือน ไมเกรน ซึ่งตัวยาไดโคลฟีแนคนี้ จะเป็นตัวยาแก้อักเสบ และลดบวมได้อย่างดี

ขนาดและวิธีใช้ยาแก้อักเสบ ลดบวม

  • ผู้ใหญ่ ควรรับประทาน 100-150 มิลลิกรัม/วัน รับประทานหลังอาหารทันที
  • เด็กอายุ 14 ปีขึ้นไป รับประทาน 75 – 100 มิลลิกรัม/วัน รับประทานหลังอาหารทันที

**หากรับประทานในกรณีที่มีอาการปวดประจำเดือน ให้เพิ่มขนาดรับประทานเป็นวันละ 200 mg.

3.ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)

เป็นกลุ่มยาที่มีสรรพคุณ ช่วยบรรเทาอาการปวดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปวดศีรษะ ไมเกรน ปวดตามร่างกาย ปวดประจำเดือน ปวดฟัน และปวดตามข้อ โดยเป็นยาแก้อักเสบ ลดบวม ที่ออกฤทธิ์ค่อนข้างรุนแรง ทำให้อาการต่างๆ หายได้เร็วขึ้น

ขนาดและวิธีการใช้ยาแก้อักเสบ ลดบวม

  • ผู้ใหญ่ ใช้ยา 200 – 400 mg ทุก 4-6 ชั่วโมง ไม่ควรรับประทานเกิน 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน
  • เด็ก อายุตั้งแต่ 6 เดือน – 12 ปี ใช้ยา 5/น้ำหนักตัว 1 กก./ครั้ง รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการใช้ยาแก้อักเสบ ลดบวม

  • ห้ามใช้ยาชนิดนี้ในกลุ่มผู้ที่แพ้ยาไอบูเฟน แอสไพริน หรือกลุ่มยาแก้อักเสบ ลดบวม ที่จัดในกลุ่มยาแก้อักเสบที่ไม่ใช้สารสเตียรอยด์
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาชนิดนี้กับหญิงตั้งครรภ์ เพราะจะทำให้เกิดผลเสียต่อเด็กในครรภ์ได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาชนิดนี้กับผู้สูงอายุ ที่มีโรคประจำตัว และอาการไม่แข็งแรง
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มนี้กับผู้ที่มีประวัติเป็นโรคกระเพาะ เพราะจะทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มนี้กับผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติ ภาวะโลหิตจาง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงหรือผู้ที่ใช้กลุ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มนี้กับผู้ที่เป็นโรคหอบหืด ภูมิแพ้ เพราะจะทำให้อาการเหล่านี้กำเริบได้เนื่องจากส่วนผสมบางตัวในยาชนิดนี้
  • หากรับประทานยาชนิดนี้ ควรงดการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารได้

ผลข้างเคียงที่เกิดจากยาแก้อักเสบ ลดบวม

ผลข้างเคียงจากกลุ่มยาแก้อักเสบ ลดบวม จะเกิดได้บ่อยกับกลุ่มคนที่ใช้ตัวยาในกลุ่มยานี้ เพราะยาแก้อักเสบจะไปเกิดผลข้างเคียงกับกระเพาะอาหาร และลำไส้ จึงทำให้ผู้ที่รับประทานยาเกิดผลข้างเคียงไม่ว่าจะเป็น ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ มึนงง คลื่นไส้อาเจียน ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร ท้องอืด ปวดท้อง ท้องเสีย ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยสำหรับบุคคลบางท่านเท่านั้น โดยเป็นเพียงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นไม่มาก แต่ก็ยังมีผลข้างเคียงที่เกิดจากตัวยา เมื่อมีอาการแล้วต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นอาการของการแพ้ยาในกลุ่มนี้ ซึ่งจะมีอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก มีผื่นขึ้นทั่วร่างกาย เกิดอาการบวมตามร่างกาย ตามผิวหนัง ซึ่งถ้าหากเกิดอาการดังกล่าวให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อทำการรักษาให้ทันท่วงที

และนี่ก็คือ กลุ่มยาแก้อักเสบ ลดบวม ที่เรานำมาแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกัน ซึ่งตัวยาในกลุ่มนี้ จะเป็นตัวยาที่มีการออกฤทธิ์ได้เร็ว เป็นตัวยาที่ออกฤทธิ์แรง ทำให้อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นหายขึ้นได้อย่างรวดเร็วเป็นปกติ โดยผู้ที่จะใช้ตัวยาในกลุ่มยาแก้อักเสบนี้ ต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก หากผู้ที่ใช้มีโรคประจำตัว ต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์ และเภสัชกร ไม่ควรซื้อยารับประทานกินเอง ดังนั้นการใช้ยาในกลุ่มนี้จึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ